top of page

SKV GPT

คือ Chatbot (แชทบอท) ที่ได้รับการอบรม (Train) จากหนังสือการวางแผนทรัพยากรน้ำเพื่อการปรับตัวภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงบทความของ รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์

สามารถช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคส่วนที่สำคัญทั้งภาคส่วนเศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ และวงวิชาการ ในการเข้าใจสถานการณ์น้ำ แนวโน้ม และผลกระทบที่มี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวของภาคส่วน การวางแผนทรัพยากรน้ำร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภููมิอากาศ และเป็นพื้นฐานการวิจัยของวงวิชาการเพื่อปรับปรุงการวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อการปรับตัวของไทยให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะแปรปรวนมากขึ้นได้ดียิ่งขึ้น

 

Any Language, Anytime, Anywhere! ทุกที่ทุกเวลาภาษาใดก็ได้ เช่น 汉语, عربي, 日本語, Español, English และไทย! 

 

TIPS คำแนะนำในการใช้งาน

 

1.  เริ่มต้นง่ายๆ “สรุป [..........] ให้ฉัน”

 

2. มีความเฉพาะเจาะจง "บอกฉันเกี่ยวกับ [...........]."

 

3 ใช้คำหลัก “ธีมใน [..........]”

 

4. ทดลองและสำรวจ ลองโต้ตอบแบบต่างๆ และค้นพบความสามารถทั้งหมดของ Chatbot นี้

 

5. ยังสงสัยว่าจะคุยหรือถามอะไรดี ศึกษาหัวข้อในหนังสือและบทความต่างของ รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์

Screen Shot 2567-03-28 at 11.17.41 copy.png

เกี่ยวกับนักเขียน

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการจัดการน้ำ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

หนังสือของนักเขียน

การวางแผนทรัพยากรน้ำ
เพื่อการปรับตัวภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เอกชัย_edited_edited.png

การวางแผนทรัพยากรน้ำ
เพื่อการปรับตัวภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทรัพยากรน้ำ นำสถานการณ์น้ำและแนวโน้มโดยสังเขป เพื่อตอบสนองต่อผลการวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศในอนาคต การประเมินความเสี่ยงและแนวทางการจัดการ การปรับตัวตามแผนแม่บทของการบริหารจัดการน้ำ และแผนแม่บทการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมตัวอย่างการศึกษาต่าง ๆ ที่มีในประเทศ และต่างประเทศเพื่อให้เข้าใจความเป็นมา ผลการศึกษาที่ได้และแนวโน้มการศึกษาด้านการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในอนาคต เพื่อการปรับตัวภายใต้ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น

Explore more...

bottom of page