GUNTALEE GPT
Chatbot (แชทบอท) ที่ได้รับการอบรม (Train) จากหนังสือ 3 เล่ม ได้แก่ CORPORATE BRAND SUCCESS VALUATION (แบรนด์องค์กร & การประเมินค่าแบรนด์องค์กร), MARKETING RESEARCH (การวิจัยการตลาด) และ MARKETING AND BRANDING SUSTAINABILITY: สาระน่ารู้ What we should know รวมถึงบทความของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. กุณฑลี รื่นรมย์
GUNTALEE GPT สามารถช่วยเหลือและให้คำแนะนำ ตั้งแต่การเรียนรู้ การวางแผน และการดำเนินการกลยุทธ์เกี่ยวกับการตลาด การวิจัยการตลาด การสร้างแบรนด์องค์กร การสร้างการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม-สังคม-องค์กร (ESG) การสร้างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การประเมินมูลค่าแบรนด์องค์กรอาเซียนและประเทศไทย การพัฒนาแบรนด์องค์กรสำหรับสตาร์ทอัพไทย รวมถึงสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานทีละขั้นตอนได้
Any Language, Anytime, Anywhere! ทุกที่ทุกเวลาภาษาใดก็ได้ เช่น 汉语, عربي, 日本語, Español, English และไทย!
TIPS คำแนะนำในการใช้งาน
1. เริ่มต้นง่ายๆ “สรุป [..........] ให้ฉัน”
2. มีความเฉพาะเจาะจง "บอกฉันเกี่ยวกับ [...........]."
3 ใช้คำหลัก “ธีมใน [..........]”
4. ทดลองและสำรวจ ลองโต้ตอบแบบต่างๆ และค้นพบความสามารถทั้งหมดของ Chatbot นี้
5. ยังสงสัยว่าจะคุยหรือถามอะไรดี ศึกษาหัวข้อในหนังสือและบทความต่างของอาจารย์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. กุณฑลี รื่นรมย์
นักเขียน
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. กุณฑลี รื่นรมย์
-
อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
ผู้เขียนหนังสือ CORPORATE BRAND SUCCESS VALUATION (แบรนด์องค์กร & การประเมินค่าแบรนด์องค์กร), MARKETING RESEARCH (การวิจัยการตลาด) และ MARKETING AND BRANDING SUSTAINABILITY: สาระน่ารู้ What we should know
หนังสือของนักเขียน
CORPORATE BRAND SUCCESS VALUATION
แบรนด์องค์กร & การประเมินค่าแบรนด์องค์กร
MARKETING & BRANDING SUSTAINABILITY
สาระน่ารู้
MARKETING RESEARCH
การวิจัยการตลาด
CORPORATE BRAND SUCCESS VALUATION
แบรนด์องค์กร & การประเมินค่าแบรนด์องค์กร
-
แบรนด์องค์กรคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อความสำเร็จของบริษัท
-
ปัจจัยใดมีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาแบรนด์องค์กร
-
การพัฒนาเครื่องมือ CBS Valuation "A New Integrative Approach to Measuring Corporate Brands" ที่สามารถวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรออกมาเป็นตัวเลขทางการเงิน
-
ความเป็นมาของ Thailand’s Top Corporate Brand Values 2012 จนถึง ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2019
-
มูลค่าแบรนด์องค์กรมีความสัมพันธ์หรือไม่กับรายรับและกำไรของบริษัท
-
Startup ไทยจะพัฒนาแบรนด์องค์กรได้อย่างไร
MARKETING AND BRANDING SUSTAINABILITY สาระน่ารู้
What we should know
ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตลาด และการทำแบรนด์เพื่อความยั่งยืน ภายใต้หนังสือ "Marketing and Branding Sustainability : สาระน่ารู้” เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการ นักการตลาด นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจทำการตลาดและการทำแบรนด์อย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล ทั้งนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมบทความที่ได้เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และใช้ในการเรียนการสอนที่ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งในโครงการอบรมผู้บริหาร
เรื่องราวที่นำเสนอมีตั้งแต่ความแตกต่างของการทำการตลาด (marketing) และการทำแบรนด์ (branding) ซึ่งผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงความหมายและความสำคัญของการทำทั้งสองเรื่องคือ แบรนด์และการตลาดไปพร้อมกัน ไม่สามารถทำอะไรก่อนอะไรหลังได้ ความเข้าใจเรื่องประสาทสัมผัสในการรับรู้เพื่อสร้างแบรนด์ (sensory branding) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการวางกลยุทธ์ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวการวางตำแหน่งแบรนด์ในยุคดิจิทัล (brand positioning in digital age) การสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน (sustainable branding) และแบรนด์ที่น่าสนใจต้องมีเรื่องราว (brand story) เพื่อสร้างความแตกต่างของแบรนด์และความจดจำให้กับลูกค้า
ในยุคที่ธุรกิจต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงมากเช่นทุกวันนี้ การทำแบรนด์และการวางแผนการตลาดทั่วไปอาจจะไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการธุรกิจทุกขนาดต้องมีเป้าหมายพัฒนาธุรกิจของตนสู่ความยั่งยืน (sustainable development goals ) ในระยะยาว โดยต้องมี ESG (environmental, social, and governance) นั่นคือ การดูแลสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีธรรมาภิบาลที่ดี แบรนด์ต้องสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าได้เพื่อความเจริญเติบโตของแบรนด์ต่อไป
จากบทความสาระน่ารู้ในเรื่องการตลาดและการทำแบรนด์ที่ยั่งยืนในยุคดิจิทัล ผู้อ่านจะได้พบกับแนวคิดและมุมมองที่จะเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาแบรนด์และกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืนไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ถ้าท่านเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใด หรือแม้แต่นักการตลาด นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ต้องการเพิ่มความรู้และทักษะของตนเอง "Marketing and Branding Sustainability: สาระน่ารู้” พร้อมที่จะเป็นเพื่อนคู่คิดของท่านในการเดินทางครั้งนี้
MARKETING RESEARCH
การวิจัยการตลาด
ตำราการวิจัยการตลาดในการจัดพิมพ์ครั้งแรกออกวางจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. 2540 หรือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว นับตั้งแต่นั้นมาจนปัจจุบัน ตำราเล่มนี้ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากนิสิต นักศึกษา อาจารย์ด้านบริหารธุรกิจ และผู้อ่านที่สนใจเรื่องการวิจัยการตลาดจนต้องพิมพ์ใหม่จำนวนทั้งหมด 8 ครั้ง เป็นจำนวนกว่าหมื่นเล่ม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินความคาดคิดของผู้เขียนเมื่อเริ่มต้นเขียนตำราเล่มนี้อย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์สำคัญของการเขียนตำราวิจัยการตลาดฉบับปรับปรุงใหม่เล่มนี้ ยังคงเน้นในเรื่องการทำความเข้าใจกระบวนการวิจัยการตลาด (พesearch process) ตั้งแต่เริ่มต้นกำหนดปัญหา การออกแบบงานวิจัย การวางแผนการเก็บข้อมุลที่ต้องการ ได้แก่ การกำหนดประชากร การำกำหนดขนาดตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลหรือการสร้างแบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ การแปลความหมายข้อมูล รวมทั้งวิธีการเขียนรายงานวิจัยเพื่อให้การนำเสนอให้งานวิจัยสามารถสื่อสารกับผู้ใช้ผลงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ในการเขียนตำราวิชาการเล่มนี้ ผู้เขียนพยายามใช้ประโยคภาษาไทยที่ง่าย เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจให้ผู้อ่านอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในบางที่จะมีวงเล็บภาษาอังกฤษสำหรับคำศัพท์เฉพาะ สำหรับบทการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติแบบต่าง ๆ ผู้เขียนได้อธิบายโดยใช้ตัวอย่างประกอบ ผู้อ่านที่เป็นนิสิต นักศึกษาจึงควรมีตำราสถิติอ่านควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นการทบทวนหรือเสริมความรู้ด้านสถิติให้มากขึ้น